เมนู

ได้พระขีณาสพนั้น ควรเรียนเอาในสำนักพระอนาคามี เมื่อไม่ได้แม้พระ-
อนาคามีนั้น ก็ควรเรียนเอาในสำนักพระสกทาคามี เมื่อไม่ได้แม้พระสกทาคามี
นั้น ก็ควรเรียนเอาในสำนักพระโสดาบัน, เมื่อไม่ได้แม้พระโสดาบันนั้น ก็
ควรเรียนเอาในสำนักของท่านผู้ได้จตุตถฌาน ซึ่งมีอานาปานะเป็นอารมณ์,
เมื่อไม่ได้ท่านผู้ได้จตุตถฌานแม้นั้น ก็ควรเรียนเอาในสำนักของพระวินิจ-
ฉยาจารย์ ผู้ไม่เลอะเลือนทั้งในบาลีและอรรถกถา. จริงอยู่ พระอริยบุคคล
ทั้งหลายมีพระอรหันต์เป็นต้น ย่อมบอกเฉพาะมรรคที่ตนได้บรรลุแล้วเท่านั้น.
ส่วนพระวินิจฉยาจารย์นี้เป็นผู้ไม่เลอะเลือน กำหนดอารมณ์เป็นที่สบายและ
ไม่สบาย ในอารมณ์ทั้งปวงแล้วจึงบอกให้ เหมือนผู้นำไปสู่ทางช้างใหญ่ ใน
ป่าที่รกชัฏฉะนั้น.

[กรรมฐานมีสนธิคือที่ต่อ 5 อย่าง]


ในอธิการว่าด้วยการเรียนกรรมฐานนั้น มีอนุบุพพีกถาดังต่อไปนี้:-
ภิกษุนั้นควรเป็นผู้มีความพระพฤติเบา สมบูรณ์ด้วยวินัยและมรรยาทเข้าไปหา
อาจารย์ซึ่งมีประการดังกล่าวแล้ว พึงเรียนกรรมฐาน มีสนธิ 5 ในสำนักของ
อาจารย์นั้น ผู้มีจิตอันตนให้ยินดี ด้วยวัตรและข้อปฏิบัติ. ในคำว่า กรรมฐาน
มีสนธิ 5 นั้น สนธิมี 5 อย่างเหล่านี้ คือ อุคคหะ การเรียน 1 ปริปุจฉา
การสอบถาม 1 อุปัฏฐานะ ความปรากฏ 1 อัปปนา ความแน่นแฟ้น 1
ลักษณะ ความกำหนดหมาย 1.
ในอุคคหะเป็นต้นนั้น การเรียนกรรมฐาน ชื่อว่า อุคคหะ. การ
สอบถามกรรมฐาน ชื่อว่า ปริปุจฉา. ความปรากฏแห่งกรรมฐาน ชื่อว่า
อุปัฏฐานะ. ความแน่วแน่แห่งกรรมฐาน ชื่อว่า อัปปนา. ลักษณะแห่ง
กรรมฐาน ชื่อว่า ลักษณะ. มีคำอธิบายว่า ความใคร่ครวญแห่งสภาพกรรม-